การทำรากฟันเทียม

    
 :: การทำรากฟันใหม่เพื่อความแข็งแรงกว่า

คือ การทำฟันปลอมที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติที่สุดในเวลานี้ นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจากการ
ค้นพบโดยบังเอิญว่าโลหะชนิดไทเทเนียมสามารถทำให้เกิดการเชื่อมติดกับกระดูกได้
ในระดับเซลล์
(Osseointegration) ไม่ใช่เพียงแค่ยึดแน่นจากเกลียวที่ขันเข้าไป (Mechanical lock) ซึ่งทำให้สามารถทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไปได้ทั้งความสวยงาม
และการใช้งาน โดยแรงที่ลงไปบนรากเทียมได้ส่งผ่านไปถึงตัวกระดูกขากรรไกรโดยตรง
ซึ่งฟันปลอมชนิดอื่นไม่สามารถทำได้
(ฟันปลอมชนิดอื่นต้องอาศัยเหงือกหรือฟันข้างเคียงเป็นตัวรับแรง)

ข้อห้ามของการทำรากเทียม
หรือความเสี่ยงที่ทำให้อัตราความสำเร็จของรากเทียมลดลง

  • • ความดันโลหิตสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้
  • • โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  • • ผู้ป่วยกระดูกพรุนที่ได้รับการฉีดยา  Bisphosphonate
  • • ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จัด
  • • ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณช่องปากหรือข้างเคียง
  • • ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรอยู่


:: ขั้นตอนการทำรากเทียม
        จะแบ่งการรักษาเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ การรักษาขั้นตอนแรกจะเป็นงานของศัลยกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีความสำคัญมากใน
การใส่ตัวรากเทียมให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความสวยงามสูงสุด อีกทั้งแนวแกนควรจะต้องทำมุมให้ใกล้เคียง
กับแนวแรงของการบดเคี้ยว  กรณีที่กระดูกรองรับฟันไม่พอเพียงที่จะใส่รากเทียมอาจจะต้องทำการปลูกกระดูกร่วมด้วย
ในขั้นตอนนี้
        การรักษาในขั้นตอนที่สองจะเป็นงานของทันตกรรมประดิษฐ์เป็นหลัก โดยจะต่อส่วนของแกนฟัน (Abutment)
และครอบฟัน (Crown)ขึ้นมา  ซึ่งจะได้ทั้งความสวยงามและการใช้งาน


 :: ประเภทของรากเทียม

1. การทำรากเทียมแบบตัวเดียว เป็นการทำที่ใช้ทดแทนฟันที่หายไปซี่ต่อซี่ โดยไม่ต้องไปกรอฟันซี่อื่นเพิ่ม

2. การทำรากเทียมแบบใส่ฟันหลายซี่ เป็นการทำที่ใช้รากเทียมมากกว่าหนึ่งซี่ใช้เป็นหลักยึด
แล้วส่วนบนทำการเชื่อมเป็นสะพานเพื่อให้ทดแทนฟันที่ี่หายไปได้หลายซี่โดยใช้รากเทียมน้อยตัว


                      

3. การทำรากเทียมร่วมกับฟันปลอมทั้งปากแบบถอดได้ 
เป็นการทำรากเทียมเพื่อช่วยในการยึดฟันปลอมถอดได้เป็นหลัก
โดยรับแรงได้แค่บางส่วน เหมาะกับผู้ป่วยที่


ฟันปลอมหลวมจากการที่สันเหงือกเตี้ย ช่วยทำให้ฟันปลอมอยู่นิ่งขึ้น ไม่ค่อยหมุนหรือสะบัดไปทำให้เกิดแผล  
ผลที่ได้รับจากการทำรากเทียม 
  • • ทำให้มีการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าการทำเฉพาะสะพานฟันหรือฟันปลอมถอดได้
  • • ไม่ต้องกรอฟันเพื่อใช้ยึดสะพานฟัน 
  • • การทานอาหารง่ายขึ้น ระบบการบดเคี้ยวดีขึ้น
  • • การพูดคุยจะฟังง่ายขึ้นกว่าการทำฟันปลอมแบบถอดได้
  • • ช่วยไม่ให้สูญเสียเนื้อฟันและกระดูกรองรับเพิ่มขึ้น
  • • ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจ
  • • ไม่มีการหลุด ลื่น ในที่สาธารณะเหมือนกับการทำฟันปลอมถอดได้
  • • สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนฟันธรรมชาติที่แท้จริง
  • • มีความทนทานสูง และมีอายุการใช้งานยาวนาน
  
   ทำไมต้องปลูกกระดูกร่วมกับการทำรากเทียม?                       

1. ฟันที่ถูกถอนไปนาน ทำให้กระดูกมีการยุบตัว

                        

2. เพื่อให้สามารถใส่รากเทียมขนาดที่ต้องการได้ โดยไม่ทำลายอวัยวะที่สำคัญเช่น เส้นเลือด เส้นประสาท

                                                

3. เพราะมีการห้อยต่ำของโพรงฐานจมูก(Sinus)

                        

4. เพื่อให้ได้ความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยเฉพาะฟันหน้า

                       


   
                                                                                    
  


Copyright 2014 Raewadee Dental Clinic. All Right Reserved